หน้าหลัก
รายละเอียดของคอร์ส
เกี่ยวกับการปฏิบัติ
ระเบียบปฏิบัติในคอร์ส
สิ่งของและการเตรียมตัว
สถานที่ปฏิบัติ
การชำระเงิน
เกณฑ์การรับสมัคร
คำถามที่พบบ่อย
ตารางการปฏิบัติ
ตารางการปฏิบัติปี 2568
ตารางการปฏิบัติปี 2567
เกี่ยวกับเรา
กลุ่มเพื่อนรู้สึกตัว
เกี่ยวกับหลวงพ่อเทียน
ธรรมทาน
Article
หน้าหลัก
ธรรมทาน
ตุลาคม
2567
9 ต.ค. 67
17 ต.ค. 67
Cr.ภาพ: Nittaya Kasemkosin
ตอบคำถามเพื่อนผู้ปฎิบัติ แล้วเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนท่านอื่นๆ เลยนำบางส่วนมาลงให้อ่านกันค่ะ
ถาม:
ผมรู้สึกว่าผมคุยกับตัวเองเยอะมากเลยครับ ผมชอบเวลาที่ผมหมั่นรู้สึกตัว เพราะในช่วงเวลานั้นมันไม่สุข-ไม่ทุกข์ เพราะไม่ได้คิดอะไรเลย แต่ก็บ่อยครั้งครับที่ยกมือแล้วรู้สึกเบื่อมาก
อ.พอมีข้อแนะนำให้ผมบ้างไหมครับ
ตอบ:
ความคิดเป็นเรื่องธรรมชาติ และมันจะคิดอยู่ตลอดเวลา ให้เราเข้าใจธรรมชาติอันนี้ของความคิดก่อน
แต่การที่เราปฏิบัติ
มันเป็นไปเพื่อให้เราไม่ไหลไปตามความคิด
ไหลไปตามความคิดหมายความว่า เข้าไปคิด เข้าไปเป็น เข้าไปรู้สึกกับมัน หรือเป็นการที่เราให้ค่ากับความคิดนั่นเอง
เมื่อเราให้ค่ากับความคิดไม่ว่ามันจะพูดอะไร เราก็ดีใจเสียใจไปกับความคิด อันนี้แหละเป็นเหตุแห่งทุกข์
ตัวความคิดเองไม่ใช่ตัวทุกข์
ตัวทุกข์คืออาการที่เรายึดมั่นถือมั่น เชื่อถือความคิด ใจจึงขาดอิสระ
การปฎิบัติในลักษณะรู้สึกตัวตามร่างกาย หรือการที่ตามลมหายใจ เป็นไปเพื่อคั่น เพื่อลดทอนความคิดให้น้อยลงบ้าง และการที่เรามีสติควบคุมอยู่ ทำให้เราสามารถเห็นความคิดซึ่งเป็นต้นตอแห่งความทุกข์ได้
ถ้าเราไม่ลดทอนมันลงบ้าง
เราไหลไปตามมัน เป็นไปได้ยากที่เราจะดูความคิดได้ทันโดยไม่เข้าไปเป็น
จึงต้องสร้างสมาธิขึ้นมาจากการรู้เนื้อรู้ตัวก่อน เมื่อความคิดลดทอนลงหรือหยุดลงชั่วคราวจากการกำหนดรู้ตามร่างกาย หากเราไม่รู้เท่าทันเราก็อาจจะไปติดอาการสงบนั้นได้ ความสงบที่ปราศจากความคิด มันสงบ มันสบาย จึงเป็นอาการที่เรียกว่าติดสงบจากสมถะกรรมฐาน
เป็นความสงบชั่วคราวที่ไม่มีปัญญาออกจากทุกข์
ความเป็นจริงแล้ว เราไม่สามารถหยุดความคิดได้ การกำหนดอยู่ที่การเคลื่อนไหวหรือลมหายใจ นั่นจึงเป็นบทเริ่มต้นที่สำคัญในการแยกตัวออกจากความคิด สร้างสติให้มีกำลังเพื่อ รู้เท่าทันความคิดนั่นเอง
ความสงบที่แท้จริง ไม่ใช่สงบแบบไม่ให้มีความคิด แต่หมายถึงใจที่สงบท่ามกลางความคิด ไม่ไหล ไม่ยึด ไม่ตามค่ะ
เราสร้างสติเพื่อให้เห็นความคิด ฉะนั้นการที่ปฏิบัติแล้วเห็นความคิดมันมาเข้ามาบอก มาสอนตัวเอง หรือคอยพากย์ สิ่งที่เราทำอยู่ตลอดเวลา มันจึงเป็นเพียงความคิด ที่เราไม่ต้องห้าม แต่อย่าตามมันไป ไม่ต้องไปนั่งคุยโต้ตอบกับมัน ได้ยินแล้วก็แล้วไป หากสติตั้งมั่นมีกำลัง เราจะสามารถเห็นความคิดได้โดยไม่เข้าไปเป็น
ส่วนในเรื่องความเบื่อนั้น เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ หากสติตั้งมั่นไม่เข้าไปในความคิดได้ ก็จะสามารถอยู่กับเนื้อกับตัวไม่เข้าไปในอารมณ์ของความเบื่อได้เช่นกัน คือวางใจไว้ว่ามันจะเบื่อก็ให้มันเบื่อไป ก็จะพบกับความจริงที่ว่าไม่มีสิ่งใดตั้งอยู่ได้
ความจริงแล้วมันก็ไม่ต่างจากที่คุณไปนั่งดูเวทนา อันนี้ก็เป็นเวทนาอย่างหนึ่ง ที่ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป
ดังคำพูดที่ว่า
มีแต่ทุกข์เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
เป็นการเข้าไปรู้ไปเห็นความจริงนั่นเอง ว่าที่ไปไปมามาอยู่นั้นมันไม่เที่ยง ถ้ายึดถือมันเมื่อไหร่ก็ต้องทุกข์ เพราะมันไม่เคยเหมือนเดิม
ยึดถือความสงบก็ต้องทุกข์เวลามันไม่สงบ แต่ถ้าไม่ยึดถือความสงบ จะสงบก็ได้ จะไม่สงบก็ได้ จึงไม่มีทุกข์
หวังว่าจะช่วยตอบคำถามที่ถามมาได้นะคะ
สาธุค่ะ
อ.บี เพื่อนรู้สึกตัว
17 ต.ค. 67